วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

สาระสำคัญ

แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2,500 ปีแล้ว แต่พระคุณของพระองค์ที่มีต่อชาวโลกก็ยังคงปรากฏอยู่ ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงและประพฤติปฏิบัติตามพระคุณของพระองค์0เพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนและสังคมส่วนรวม พระมหากัจจายนะ พระภัทรากัจจานาเถรี และนางขุช  ชุตตรา มีประวัติ ผลงาน และคุณธรรมที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา ดังนั้นเราจึงควรศึกษาประวัติของท่านเหล่านี้ และนำคุณธรรมมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธคุณ 9 ประวัติและคุณธรรมของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี นางขุชชุตตรา รวมทั้งสามารถนำคุณธรรมของท่านเหล่านั้นมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้

จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบของพุทธคุณ 9 ได้
2. วิเคราะห์คุณค่าของพุทธคุณ 9 และนำพุทธคุณ 9 ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. เล่าประวัติของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตราโดยสังเขปได้
4. วิเคราะห์คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตรา และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

2.1 บทนำ


เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็ทรงนำความจริงที่ตรัสรู้นั้นมาประกาศเปิดเผยแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ สามารถทำให้คนทุกชนชั้นวรรณะไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ หรือศูทร สามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ได้ ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายกว้างออกไปยังดินแดนต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้พระคุณความดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชาวโลก หรือที่เรียกว่า พุทธคุณ ของเหล่าพุทธสาวกทั้งชายและหญิงจึงมีคุณค่าควรแก่การศึกษา และยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

2.2 พุทธคุณ 9
          พุทธคุณ คือ พระคุณความดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชาวโลก พุทธคุณดังกล่าวนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้และพระสาวกก็ไม่ได้ตั้งขึ้น แต่เป็นกิตติศัพท์ที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาแล้วบ้างและผู้ที่ยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาบ้าง ได้กล่าวขานเล่าลือกันไป โดยมีต้นตอการเล่าลือมาจากการที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าชายในราชสกุล ได้เสด็จออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้วพระองค์ก็ทรงนำสิ่งที่ตรัสรู้นั้นแล้วมาประกาศ เปิดเผย และบอกกล่าวแก่ชาวโลก จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ พระปรีชาสามารถ หรือพระคุณความดีของพระองค์จึงแผ่ขจรกระจายไปทั่วไป แม้พระองค์จะปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2,500 ปีแล้วก็ตาม พระคุณของประองค์ก็ยังคงปรากฏอยู่ ชาวโลกที่เป็นพุทธศาสนิกชนยังนำมาเป็นบทสวดมนต์รำลึกถึงอยู่ทุกเช้าค่ำ
          พุทธคุณมีอยู่ 9 ประการ ดังบทสวดมนต์ ต่อไปนี้
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวะติ

          พุทธคุณแต่ละประการมีคำอธิบายดังนี้
1. อะระหัง แปลว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสอันเป็นเหตุให้เศร้าหมองทั้งหลาย ทรงเป็นผู้หักกำแพงแห่งสารจักร คือ เป็นผู้ทำลายวงล้อที่หมุนไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดที่ไม่มีที่สิ้นสุด ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และกรรม อะระหังมีควาหมมายอีกนัยหนึ่งคือ ทรงเป็นผู้ควร ได้แก่ ทรงเป็นผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ทรงเป็นผู้ควรแก่การรับความเคารพนับถือจากผู้อื่น และทรงเป็นผู้ไม่มีความลี้ลับ ไม่ได้ทำความเสียหายหรือซ่อนเร้นไม่ให้ผู้อื่นรู้ ตัวอย่างจากพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นความเป็นอรหันต์ของพระพุทธเจ้า ได้แก่ มีชฏิล 3 พี่น้องคือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ได้ประกาศตนว่า เป็นพระอรหันต์ จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยทั่วไป ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาในกรุงราชคฤห์ พระองค์ทรงต้องการจะให้อุรุเวลกัสสปะเป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา จึงทรงไปฝึกอบรมอุรุเวลกัสสปะด้วยการแสดงสิ่งน่าอัศจรรย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปะกล่าวชมเชยว่า สมณะผู้นี้เก่งจริงแต่ไม้ได้เป็นอรหันต์เหมือนเรา พระพทธเจ้าทรงฝึกอบรมต่อไปจนอุรุเวลกัสสปะเห็นว่าตนไม่ได้เป็นอรหันต์ พระพุทธเจ้าต่างหากเป็นพระอรหันต์ที่แท้จริง จึงพร้อมทั้งบริวารยอมตนเป็นศิษย์ อุปสมบทในพระพุทธศาสนาและได้ฟังธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่แท้จริง

2. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ทรงเป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึง ตรัวรู้ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน ตัวอย่างจากพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง ได้แก่ เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในตอนแรก ๆ ปัญจวัคคีย์แสดงอาการกระด้างกระเดื่องไม่เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ พระองค์จึงตรัสเตือนว่า ถ้อยคำปฏิญาณพระองค์ว่าได้ตรัสรู้โดยชอบเองนั้นได้เคยตรัสมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ปัญจวัคคีย์ระลึกได้ว่าไม่เคยตรัสจึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา แล้วพระโกณฑัญญะ หัวหน้าปัญจวัคคีย์ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน นับเป็นพยานการตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า

3. วิชชาจะระณะสัมปันโน แปลว่า ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ หมายถึง ทรงเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชาความรู้และความประพฤติปฏิบัติดี ตัวอย่างพุทธิจริยาที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยวิชาและจรณะ ได้แก่ เมื่อทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิปราศจากกิเลสทุกอย่าง เกิดปัญญาญาณหยั่งรู้ 3 ประการ คือ
     1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้
     2. จุตูปปาตญาณ คือ ความรู้การตายและการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
     3. อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้อาสวะหรือกิเลสหมดสิ้นไป
     การที่พระพุทธเจ้าทรงเกิดญาณหยั่งรู้ ทำให้พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 จึงเรียกว่า ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชา ส่วนการที่พระองค์ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ทรงไม่กระทำความชั่วทั้งมวลและทรงหมดสิ้นความทุกข์ความเดือดร้อนทุกอย่าง เรียกว่า ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ
     4. สุคะโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายถึง ทรงมีทางเสด็จที่ดีงาม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 เสด็จไปสู่ที่ดี คือ พระนิพพาน เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ คือ ทรงละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่หวนกลับมาสู่ความมีกิเลสได้อีก ทรงดำเนินไปในทางที่ถูกต้องแล้ว คือ ทรงปฏิบัติตามมัชฌมาปฏิปทาและทรงบำเพ็ญกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก
     ความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า สุคะโต คือ พระพุทธเจ้าเสด็จไป ณ ที่ใด หรือเสด็จประทับอยู่ ณ ที่ใด ก็มีแต่ก่อให้เกิดความดีงามแก่บุคคลและสัตว์ในสถานที่นั้น ๆ พระองค์ไม่ทรงเป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร ๆ มีแต่สร้างความสงบร่มเย็นเป็นสุขแก่สถานที่นั้น ๆ
     ตัวอย่างพุทธจริยาที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปดีแล้ว คือ หลังจากเสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์ทรงมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย ในที่สุดทรงพบแนวทางปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสได้ ซึ่งได้แก่ อริยมรรค แปลว่า ทางประเสริฐ ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา พระองค์ทรงปฏิบัติตามแนวทางนี้จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และหลังจากได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ยังเสด็จไปในที่ต่าง ๆ เพื่อแสดงธรรมโปรดบุคคลต่าง ๆ จนมีผู้ได้บรรลุธรรมขอบวชเป็นพระสาวก และปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธจำนวนมาก ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวพุทธและชาวโลกโดยทั่วไป
     5. โลกะวิทู แปลว่า ผู้รู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้สภาพความจริงหรือข้อเท็จจริงของโลก (สถานที่อยู่อาศัย) ทรงรู้อัธยาศัย ระดับจิตใจ ตลอดจนฐานะและการศึกษาของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้ผลดี คุณลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก คือ การที่พระองค์ทรงรู้ไตรลักษณ์ (ลักษณะที่เหมือนกับของสรรพสัตว์) โดยจำแนกเป็น
          1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง ความไม่จิรังยั่งยืน
          2. ทุกขตา คือ ความทุกข์ ความทนอยู่ไม่ได้ของสรรพสิ่ง
          3. อนัตตตา คือ ความไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
          พุทธกิจที่พระองค์ทรงบำเพ็ญประจำวันข้อหนึ่งคือ ในเวลาใกล้รุ้ง จะทรงตรวจดูสัตว์โลก เพื่อจะได้รู้ว่าใครมีบารมีพอที่จะบรรลุธรรมได้บ้าง เมื่อทรงรู้แล้วจึงเสด็จไปแสดงธรรมโปรด เช่น ครั้งหนึ่งทรงตรวจดูด้วยทิพยจักษุญาณ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอรหัตตผลของโจรองคุลิมาล จึงได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรด จนทำให้องคุลิมาลกลับใจ และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาต่อไป
     6. อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสารถิ แปลว่า ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่พึงฝึกได้ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า หมายถึง ทรงเป็นผู้มีความสามารถและชำนาญในการฝึกฝน อบรมสั่งสอนมนุษย์ได้ดียิ่งกว่าผู้อื่น พระองค์ทรงรู้วิธีฝึกฝนไม่ทรงใช้การบังคับขู่เข็ญ แต่ทรงใช้อุบายการฝึกที่เหมาะสมแก่บุคคล และคนที่ได้รับการฝึกแล้ว จะกลายเป็นคนดีมีคุณธรรม
     ตัวอย่างจากพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่พึงฝึกได้ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า คือ องคุลิมาลเป็นคนฉลาด แต่ถูกอาจารย์สั่งสอนให้ฆ่าคนให้ได้ 1,000 คน แล้วจะบอกมนต์วิเศษให้ ดังนั้น องคุลิมาลจึงเที่ยวฆ่าคนแล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอเพื่อให้ครบจำนวน 1,000 คน ขณะที่ฆ่าไปได้แล้ว 999 คน ซึ่งเหลือเพียงคนเดียวจะครบ 1,000 คนนั้น องคุลิมาลคิดจะฆ่าแม่ตัวเอง พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจึงเสด็จไปฝึกองคุลิมาลด้วยวิธีการต่าง ๆ จนองคุลิมาลยอมจำนน ขออุปสมบทในพระพุทธศาสนาและในที่สุดได้บรรลุอรหันผล
     7. สัตถา เทวะมนุสสานัง แปลว่า ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หมายถึง ทรงเป็นที่ผู้เหล่าเทวดาและมวลมนุษย์ยกย่อง เชิดชู บูชาให้เป็นครูอาจารย์ของตน เทวดาหรือเทพมีอยู่ 3 จำพวก ได้แก่
          1. สมมติเทพ คือ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน และพระราชวงศ์ชั้นสูง
          2. อุปปัติเทพ คือ เทวดาโดยกำหนด เช่น พระอินทร์ พระพรหม ภุมมเทวดา รุกขเทวดา เป็นต้น
          3. วิสุทธิเทพ คือ เทวดาโดยความทบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์
          พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาของเทวดาโดยสมมติ เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น ทรงเป็นศาสดาของเทวดาโดยกำเนิดนั้น มีหลักฐานทางพระไตรปิฏกกล่าวว่า มีเทวดาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลากลางคืน เช่น ในมงคลสูตรกล่าวว่า ท้าวสักกะหรือพระอินทร์ พร้อมทั้งบริวารได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เป็นต้น ทรงเป็นศาสดาของเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลาย นอกจากนี้พระพืธเจ้ายังทรงเป็นศาสดาของมนุษย์ทุกระดับชั้น ทุกวรรณะ
     8. พุทโธ แปลว่า ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว
          1) ทรงเป็นผู้รู้ หมายถึง ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ดังกล่าวแล้วสามารถมองดู รู้จัก และเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หรือรู้เท่าทันธรรมดาของสังขารทั้งหลาย ทำให้รู้จักวางใจวางท่าทาง
          2) ทรงเป็นผู้ตื่น หมายถึง ทรงมีพระอาการไม่ซบเซา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ทรงมีพระอาการตื่น คือ นอนไม่หลับไหลอยู่ทุกเมื่อ ทรงมีพระสติรู้พระองค์อยู่เสมอ
          3) ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว หมายถึง ทรงมีความสดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ โดยทรงมีพระพักตร์ พระวรกาย และพระฉวีวรรณ ผ่องใส สง่างาม น่าเคารพนับถือ และก่อให้เกิดความรู้สึกน่าทึ่งน่าเลื่อมใสแก่ผู้ที่ได้พบเห็นพระองค์
          ตัวอย่างจากพระพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว คือ เมื่อใกล้จะปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก แต่พระองค์ก็ทรงข่มความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยนั้นไว้ได้ ทรงมีพระพักตร์ปกติ ยังคงทรงความเบิกบานและความสง่าผ่องใสไว้ ไม่มีพระอาการกระวนกระวายหรือซึมเศร้า ทรงมีพระสติปรัชญะอยู่ตลอดเวลา มีลักษณะพร้อมเสนอที่จะทรงปฏิบัติพุทธกิจอย่างสมบูรณ์
     9. ภควา แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค ทรงเป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม ทรงเป็นผู้มีคุณควรคบ ทรงเป็นผู้หักวัฏฏะได้แล้ว
          1) ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ไม่ว่าพระองค์จะทรงทำอะไร ก็จะสำเร็จไปหมดทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่เสด็จออกบรรพชา แสวงหาสัจธรรม ในที่สุดก็ทรงค้นพบ นอกจานี้ใครที่ได้เฝ้าได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็จะได้รับโชค ได้รับสิริมงคลไปด้วย
          2) ทรงเป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม หมายถึง เมื่อได้ค้นพบสัจธรรมแล้วด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ก็ทรงนำสิ่งที่ค้นพบ (พระธรรม) นั้นมาประกาศ เปิดเผย แจกแจงให้ชาวโลกได้รู้ตามและปฏิบัติตาม โดยไม่ทรงปิดบังอำพราง
          3) ทรงเป็นผู้มีคุณควรคบ หมายถึง ทรงมีคุณสมบัติและคุณงามความดี ควรค่าแก่การคบหาสมาคม ใครคบหาสมาคมพระพุทธองค์แล้ว มีแต่คุณความดีเท่านั้น ไม่มีโทษ
          4) ทรงเป็นผู้หักวัฏกะได้แล้ว หมายถึง ทรงเป็นผู้ทำลายวัฏฏะ ซึ่งได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เป็นวงจรชีวิตได้อย่างสิ้นเชิง
          ตัวอย่างจากพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีโชค คือ พระองค์ได้ประสูติในตระกูลสูงส่ง เพียบพร้อมด้วยความสุขสนุกสนานทุกอย่าง แต่เพราะปัญญาบารมีทำให้พระองค์ไม่ยึดติดในความสุขเหล่านั้น จึงได้เสด็จออกผนวช บำเพ็ญเพียรทางจิตจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นจึงได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ (บุคคลที่พึงจะแนะนำได้) จนมีผู้บรรลุธรรมตามมากมายเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่น และแผ่ไพศาลไปทั่วทุกสารทิศ แล้วพระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานจะเห็นว่าตลอดชั่วชีวิตของพระองค์ทรงเป็นผู้มีโชคมีชัยโดยตลอด
2.3 ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

     ในสมัยพุทธกาลมีพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธจำนวนมากที่มีบทบาทสำคัญใน๙านะเป็นกำลังช่วยเหลือพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำหรับในชั้นนี้จะได้ศึกษาประวัติของท่านเหล่านี้ ได้แก่ พระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตรา

1. พระมหากัจจายนะ
     พระมหากัจจายนะ เป็นพุทธสาวกที่มีความรุ้แตกฉาน ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศในการอธิบายหลักธรรมให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในแคว้นอวันดี
     พระมหากัจจายนะ เดิมชื่อ กัญจนะ หรือ กาญจนะ (แปลว่า ทอง) ท่านเกิดในสกุลพราหมณ์กัจจายนโคตร บิดาของท่านเป็นปุโรหิตอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าจันณฑโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมืองหลวงของแคว้นอวันดี เมื่อเจริญวัยได้เรียนจนจบไตรเพท ครั้นบิดาถึงแก่กรรม กาญจนะหรือกัญจนะได้รับแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตแทนบิดา จึงได้ชื่อว่า กัจจายนปุโรหิต ตามตระกูล เมื่อพระเจ้าจันฑปัชโชตทรงทราบว่า มีศาสดาองค์ใหม่ซึ่งประชาชนพากันเรียกว่า พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นในแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร กำลังเสด็จออกสั่งสอนประชาชน ธรรมที่พระงอค์ทรงสั่งสอนนั้นเป็นธรรมอันประเสริฐให้สำเร็จผลประโยชน์แก่ผูประพฤติปฏิบัติ จึงมีพระราชประสงค์จะนิมนต์พระพุทธเจ้ามาประกาศศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงทรงแต่งตั้งคณะทูตขึ้นคณะหนึ่งมีกัจจายนปุโรหิตเป็นหัวหน้าไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ในการเดินทางไปครั้งนี้กัจจายนปุโรหิตได้กราบทูลขอลาบวชด้วย เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว กัจจายนปุโรหิตพร้อมด้วยคณะ 7 คน ไดเดินทางไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและได้เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ในที่สุดคณะทูตทั้ง 8 ก็ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมกันทั้งหมด จากนั้นจึงได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาติให้บวชเป็นพระภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
     ครั้นอุปสมบทแล้ว กระกัจจายนะจึงกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชหระสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งให้พระกัจจายนะพร้อมด้วยพระภิกษุบริวารทั้ง 7 เดินทางไปแทนพระองค์ พระกัจจายนะพร้อมด้วยพระภิกษุบริวารจึงได้เดินทางกลับกรุงอุชเชนี เข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชตและแสดงธรรมถวาย จนพระเจ้าจัณฑปัชโชตฟังแล้วเกิดความเลื่อมใส ประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะหรือพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา
     พระกัจจายนะจำพรรษาอยู่ในกรุงอุชเชนีช่วงเวลาหนึ่งได้ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเมือง ทำให้ชาวเมืองจำนวนมากเกิดความเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาพระกัจจายนะได้เดินทางกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม กรุงราชคฟห์ ขณะที่พักอยู่ร่วมพระอารามกับพระพุทธเจ้านั้น ได้มีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยย่อแล้วไม่เข้าใจ ได้มาขอให้พระกัจจายนะอธิบายให้ฟัง พระกัจจายนะจึงอธิบายขยายความของธรรมนั้นอย่างละเอียด จนพระสงฆ์กลุ่มดังกล่าวเข้าใจเป็นอย่างดี
     จากการที่พระกัจจายนะเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายขยายความย่อของธรรมให้พิศดารและให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ได้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านอธิบายความย่อแห่งคำสอนของพระองค์ให้พิสดารอย่างถูกต้อง พระกัจจายนะเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระศาสนาเป็นอันมาก โดยเฉพาะในแคว้นอวันดี พระภิกษุทั้งหลายจึงเรียกท่านว่า พระมหากัจจายนะ
     สมัยหนึ่ง พระมหากัจจายนะได้เดินทางกลับมาจำพรรษา ณ กรุงอุชเชนี ขณะที่ท่านได้ไปพักอยู่ที่เชิงเขาชื่อปวัตตะ เมืองกุรุระฆระในแคว้นอวีนตีภาคใต้ มีอุบาสิกาชื่อ โสณะ กุฏิกัณณะ มาคอยอุปัฏฐากรับใช้ท่าน มีความประสงค์จะบวช แต่ไม่สามารถบวชได้เพราะไม่มีพระสงฆ์เพียงพอ เนื่องจากตอนนั้นพระพุทธเจ้าทรงกำหนดระเบียบการบวชไว้ว่า จะต้องมีพระภิกษุ 10 รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์สงฆ์ทำพิธีบวชพระภิกษุได้ พระมหากัจจายนะจึงให้โสณะบวชเป็นสามเณรไปก่อน ทั้ง ๆ ที่อายุมากแล้ว ท่านรออยู่ถึง 3 ปี จึงได้พระสงฆ์ครบ 10 รูป เพียงพอที่จะบวชเป็นพระภิกษุได้
     เมื่อพระโสณะกุฏิกัณณะบวชแล้วปรารถนาจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะท่านไม่เคยเห็นพระพุทธองค์จึงไปลาพระมหากัจจายนะ ซึ่งพระมหากัจจายนะก็อนุญาตด้วยดี และได้ฝากให้พระโสณะทูลขอผ่อนผันวินัย 5 ประการ ดังนี้
          ประการที่หนึ่ง ในแคว้นอวันตีตอนใต้ มีพระภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยพระสงฆ์น้อยว่า 10 รูป
          ประการที่สอง ในแคว้นอวันตีตอนใต้ พื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ
          ประการที่สาม ในแคว้นอวันตีตอนใต้ ชาวบ้านอาบน้ำทุกวัน ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้พระสงฆ์อาบน้ำได้เป็นนิตย์
          ประการที่สี่ ในแคว้นอวันตีตอนใต้ มีเครื่องลาด (นิสีทนะ) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ เช่น หนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้เครื่องลาดดังกล่าว
          ประการที่ห้า ในแคว้นอวันตีตอนใต้ ชาวบ้านนิยมถวายจีวรแก่พระภิกษุผู้ที่ไม่ได้อยู่วัด โดยฝากพระภิกษุอื่นไว้ เมื่อพระรูปนั้นกลับมาไม่ยอมรับจีวร เพราะกลัวว่าจะผิดพุทธบัญญัติในกรณีเก็บจีวรไว้เกิน 10 วัน ขอได้โปรดตรัสบอกวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับจีวรว่าจะทำอย่างไร
     พระโสณะกุฏิกัณณะได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ได้กราบทูลขอพร 5 ประการดังกล่าว พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตตามที่ขอทุกประการ สำหรับประการที่หนึ่งทรงอนุญาตว่า ในท้องถิ่นทุรกันดาร หาพระสงฆ์ยาก ให้ใช้พระสงฆ์ 5 รูปก็บวชกุลบุตรให้เป็นพระภิกษุได้ สำหรับประการที่ห้าทรงอนุญาตว่า ให้พระภิกษุรับจีวรที่ทายกถวายลับหลังได้ จีวรยังไม่ถึงมือของพระภิกษุนั้นตราบใด ก็ยังไม่ถือว่าเธอมีสิทธิ์ครอบครองในจีวรนั้น การผ่อนผันทางวินัยเหล่านี้จึงเป็นระเบียบปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
     พระมหากัจจายนะเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวขาวเหลืองดุจทองคำสมตามชื่อเดิมของท่านว่า กัญจนะ บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งเห็นท่านเข้านึกคะนองในใจว่า ถ้าได้ภรรยารูปงามเหมือนอย่างท่านจักเป็นที่พอใจยิ่งนัก ด้วยอกุศลจิตเพียงเท่านั้น บุตรเศรษฐีก็เปลี่ยนจากเพศชายเป็นเพศหญิง ภายหลังได้ขอขมาท่านแล้วจึงกลับเป็นเพศชายดังเดิม พระมหากัจจายนะเกิดความสลดใจในเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อเห็นว่ามีคนหลงใหลความมีรูปของท่านแล้วเกิดโทษ ท่านจึงอธิษฐานให้รูปร่างอ้วน ศรีษะสั้น พุงพลุ้ย เพื่อไม่ให้มีใครหลงใหลท่านอีก ซึ่งในประเทศไทยรู้จักท่านในนาม พระสังกระจาย หรือ พระสังกัจจายน์
     พระมหากัจจายนะมีชีวิตมาถึงสมัยหลังพุทธปรินิพพาน ท่านได้ออกเผยแผ่พระศาสนาในแคว้นอวีนตีโดยได้แสดงธรรมให้พระเจ้ามธุราชอวันตีบุตร ซึ่งเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าจัณฑปัชโชต จนกษัตริย์พระองค์นี้เลื่อมใสประกาศพระองค์เป็นอุบาสก นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ พระมหากัจจายนะดำรงอายุสังขารตามสมควรอก่กาลก็นิพพาน แต่สถานที่นิพพานไม่มีหลักฐานปรากฏ

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
     พระมหากัจจายนะมีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ ดังนี้
          1. เป็นคนรอบคอบ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จาก ในสมัยเป็นปุโรหิตได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้เป็นผู้ไปกราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงอุเชนีเพื่อแสดงธรรมโปรด ก่อนออกเดินทางจากกรุงอุชเชนีไปยังกรุงราชคฤห์ ท่านได้กราบทูลลาพระเจ้าจัณฑปัชโชตขอบวชในพระพุทธศาสนาด้วย ทั้งนี้เนื่องจากท่านเห็นว่า ระยะทางระหว่างกรุงอุชเชนีกับกรุงราชคฤห์นั้นไกลมาก จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งทีก็ควรทำให้เรียบร้อยทุกอย่าง
          2. เป็นผู้ยึดมั่นต่อคำสั่ง คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากเมื่อครั้งได้รับคำสั่งจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ไปกราบทูลเชิญพระเพุทธเจ้าให้เสด็จไปยังกรุงอุชเชนีให้ได้และท่านก็ทำได้สำเร็จ กล่าวคือ เมื่ออุปสมบทและบรรลุอรหัตผลแล้ว ท่านก็ได้กราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนี
          3. ตั้งใจทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านได้รับมอบหมายให้ไปประกาศพระศาสนา ณ กรุงอุชเชนี แทนพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านก็ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดีสามารถทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และยังเป็นผู้สามารถฮธิบายขยายความย่อของพระธรรมให้ละเอียดพิสดาร เข้าใจง่ายได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
          4. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านรูจักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา โดยทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขพุทธบัญญัติบางข้อเกี่ยวกับปัจจันตชนบท (ท้องถิ่นทุรกันดาร) เพราะตามพุทธบัญญัติเดิมพระภิกษุในปัจจันตชนบทซึ่งอยู่ในเขตถิ่นกันดารปฏิบัติตามได้ยาก ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงแก้ไขให้
          5. เป็นผู้มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่ท่านยอมอธิษฐานจิตเปลี่ยนแปลงรูปที่สวยงาม มีผิวพรรณดั่งทอง ที่ใครเห็นแล้วก็ชอบและหลงใหล ให้กลายเป็นรูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียด ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าการมีรูปงามบางครั้งอาจทำให้เกิดโทษแก่ผู้อื่น ดังตัวอย่างที่เกิดกับโสเรยยะ บุตรของเศรษฐีแห่งโสเรยนคร

2. พระภัททากัจจานาเถรี

     พระภัททากัจจานาเถรี เป็นพุทธสาวิกาที่เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้มีคุณธรรมพิเศษ จึงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติของท่านจึงมีคุณค่าควรแก่การศึกษา และยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
     พระภัททากัจจานาเถรีเป็นจ้าหญิงแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิม คือ พิมพา (แปลว่า สวย) เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ เจ้าผู้ครองกรุงเวทหะ กับพระนางอมิตตา กนิษฐภคินีของพระเจ้าสุทโธทนะ และเป็นพระกนิษฐาของเจ้าชายเทวทัต พระนางพิมพามีพระนามที่เรียกกันหลายชื่อ ได้แก่ ยโสธรา (แปลว่า สง่างามน่าเกรงขาม) ภัททา (แปลว่า เจริญตา) และกัจจานา (แปลว่า ทอง) แต่ส่วนมากเรียกกันว่า พระนางพิมพา หรือ ยโสธรา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสเป็นชายาของเจ้าชานสิทธัตถะ ทั้งสองพระองค์เสวยสุขในราชสมบัติจนพระชนมายุได้ 29 พรรษาเท่ากัน เพราะประสูติในวันเดียวกัน เจ้าหญิงทรงมีพระโอรสกับเจ้าสายสิทธัตถะพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล
     ในวันหนึ่งที่พระนางประสูติพระโอรสนั่นเอง เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้เสด็จออกผนวช ทำให้พระนางทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมาก แต่ก็ทรงติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ตลอดเวลาด้วยความเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทรงทราบข่าวว่าในระหว่างแสวงหาสัจธรรมเจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิบัติเช่นไรก็จะปฏิบัติตามเช่นนั้นทุกอย่าง เช่น ทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงลดอาหารก็ลดตาม ทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะนุ่งห่มด้วยผ้าฝาดของเปลือกไม้ ก็ทรงนุ่งห่มอย่างนั้น เหตุการณ์เช่นนี้ได้ดำเนินไปตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชไปเรื่อย จนถึงวาระที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนางก็ทรงคอยสดับข่าวอยู่สมอว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เมื่อไร
     เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติได้ถวายการต้อนรับ และจัดให้พระพุทธองค์พร้อมพระสงฆ์สาวกประทับที่นิโครธาราม ซึ่งเป็นอุทยานนอกเมือง วันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ได้เสด็จออกบิณฑบาตไปตามถนนในเมือง พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับข่าวเช่นนี้ ทรงสลดพระทัยและทรงพิโรธ ซึ่งได้รีบเสด็จไปยังที่พระพุทธองค์เสด็จบิณฑบาตอยู่ พร้อมตรัสต่อว่าพระพุทธองค์ว่า ทรงปฏิบัติพระองค์ผิดธรรมเนียมกษัตริย์ ทำให้เลื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระเจ้าสุทโธทนะว่า การที่ทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นธรรมเนียมของวงศ์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่วงศ์แห่งกษัตริย์หรือขัติยวงศ์แห่งใด จากนั้นพระองค์จึงได้ตรัสหลักธรรมบางประการทำให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงเข้าพระทัย คลายความพิโรธหมดสิ้น และได้ดวงตาเห็นธรรมคือสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
     พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสตุ์ เป็นวันที่ 7 และได้เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชวังตามคำอาราธนาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโะทนะและพระประยูรญาติ (ยกเว้นพระนางยโสธราและราหุล) ต่างก็ออกมาถวายการต้อนรับ และถวายอาหารบิณฑบาตอย่างประณีต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงธรรมแก่พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติ จนบุคคลเหล่านั้นเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งในหลักธรรม และพากันยอมรับธรรมนั้นไปประพฤติ ปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นสาวกของพระองค์สืบไป
     ในวันต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอัครสาวก็ได้เสด็จไปโปรดพระนางยโสธราและราหุล ณ ที่ประทับตามคำขอร้องของพระเจ้าสุทโธทนะ เนื่องจากพระนางทรงเศร้าโศกเสียพระทัยมาก ไม่อาจมาเฝ้าฟังธรรมเช่นคนอื่น ๆ ได้ เมื่อพระนางได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงผวาเข้ากราบพระบาทของพระพุทธเจ้าและสยายพระเกศาลงที่พระบาทพร้อมกับพระหัตถ์ทั้งสองกอดพระบาทพระพุทธองค์ไว้แน่นและทรงกรรแสงอย่างน่าสงสาร พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเล่าถึงคุณงามความดีของพระนางในอดีต ตรัสชื่นชมพระนางว่าเป็นผู้ที่มีคุณอันยิ่งใหญ่ทรงช่วยเหลือพระองค์เสมอมา และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพระองค์ จากนั้นก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาปลอบพระนาง พระนางยโสธราได้ตรัยพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงควายความเศร้าโศกเสียพระทัย มีแต่ความชื่นชมโสมนัสและได้บรรลุมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันในที่สุด ส่วนพระราชโอรสราหุล ผู้ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษาเท่านั้น ในวันต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงโปรดให้ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อเวลาล่วงเลยมา พระนางยโสธราได้ทรงปรารภถึงการออกผนวชบ้าง เพราะเหตุผลว่า เจ้าชายสิตถะผู้เป็นพระสวามีก็ได้ออกผนวช จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ราหุลกุมารพระโอรสก็บวชเป็นสามเณร พระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และฝ่ายโกลิยวงศ์ ก็เสด็จออกบวชตามพระพุทธองค์กันจนเกือบหมด รวมทั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุณีพร้อมกับเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก และขณะนี้พระเจ้าสุทโธทนะก็สิ้นพระชนม์แล้ว ในที่สุดพระนางจึงตัดสินพระทัยออกผนวชได้เข้าไปทูลลาพระเจ้ามหานามะ ซึ่งทรงครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วพระนางก็ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีที่พระพุทธองค์ประทับอยู่พร้อมบริวาร ทูลขอผนวชเป็นพระภิกษุณี พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยให้เป็นไปตามขั้นตอนตามเงื่อนไขของการบวชเป็นพระภิกษุณี
     พระภิกษุณียโสธราเมื่อทรงผนวชแล้ว พระภิกษุณีทั้งหลายก็เรียกว่าท่านว่า พระภัททากัจจานาเถรี ท่านได้ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความเพียรอยู่ประมาณ 1 เดือน ก็สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยคุณธรรมพิเศษ คือ อภิญญา 6 พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องว่า พระภิกษุณีภัททากัจจานาเป็นเลิศกว่าพระภิกษุณีทั้งหลายในด้านชำนาญในอภิญญา 6 ประการ ได้แก่
          1. สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์เหนือสามัญชนได้ (อิทธิวิธิญาณ)
          2. สามารถฟังเสียงในที่ไกลและเสียงที่เป็นทิพย์ได้ (ทิพพโสตญาณ)
          3. สามารถหยั่งรู้จิตใจและทายใจคนอื่นได้ (เจโตปริยญาณ)
          4. สามารถระลึกอดีตชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
          5. สามารถมองเห็นได้ในที่ไกล ๆ หรือมีตาทิพย์ (ทิพพจักขุญาณ)
          6. สามารถทำลายกิเลสหรือเครื่องเศร้าหมองจิตใจทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้ (อาสวักขยญาณ)
     พระภัททากัจจานาเถรีเป็นกำลังสำคัญฝ่ายพระภิกษุณีในการเผยแผ่ประกาศศาสนา ด้วยเหตุ
ที่ท่านมีความสามารถพิเศษในด้านดังกล่าว งานเผยแผ่พระศาสนาของท่านจึงทำได้ในเวลารวดเร็ว
พระภัททากัจจานาเถรีมีพระชนมายุได้ 79 พรรษา จึงได้เข้าไปกราบทูลลาพระพุทธองค์เมื่อนิพพานก่อนที่ท่านจะนิพพานท่านได้นำเอาสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงแก่พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อคราวเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก มากล่าวทบทวนให้คนทั้งหลายที่มาประชุมกันได้ฟังว่า บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ควรประพฤติธรรมให้สุจริตไม่ควรประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
     กล่าวกันว่า ในวันที่พระภัททากัจจานาเถรีนิพพานได้มีพระภิกษุจำนวน 18,000 องค์ที่ร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกันมา ก็นิพพานในวันนั้นด้วย
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
     พระภัททากัจจานาเถรีมีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ ดังนี้
          1. เป็นผู้มีความอดทนเป็นเลิศ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากคำกราบทูลของพระเจ้าสุทโทนะต่อพระพุทธเจ้าในครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ว่า นับตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จออกผนวช แม้พระนางยโสธราจะทรงเสียพระทัยและมีความทุกข์เป็นอย่างมาก แต่ก็ทรงอดทนไว้และทรงติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ตลอดเวลา เมื่อได้รู้ข่าวว่าพระพุทธองค์ทรงปฏิบัติอย่างก็ทรงทำตาม เช่น ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมฝาดของเปลือกไม้ พระนางก็ทรงนุ่งห่มเช่นนั้น เป็นต้น
          2. เป็นผู้มีความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากเมื่อครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชตลอดเวลา 6 – 7 ปี ที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จจากไปจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีพระประยูรญาติผู้ปรารถนาดีทรงยินดีจะรับไปอุปถัมภ์เลี้ยงดู ก็ไม่ได้ทรงยินดีแม้แต่น้อย ได้ทรงเฝ้ารอคอยการเสด็จกลับมาของพระพุทธองค์เพื่อเข้าเฝ้าและฟังธรรม
          3. เป็นผู้มีเหตุผล คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าไปโปรดถึงที่ประทับของพระนางมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายในเข้าไปทูลว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมา พระนางยโสธราได้เสด็จออกมาเข้าเฝ้าด้วยพระอาการที่แทบทรงพระสติไว้ไปได้ แต่เมื่อพระพุทธองค์ตรัสปลอบ และทรงชี้ให้เห็นถึงพระคุณอันประเสริฐของพระนางที่มีต่อพระองค์ ทรงช่วยเหลือและเสียสละเพื่อพระองค์มามาก ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันได้สดับแล้วก็ทรงคลายความเสียสละพระทัยและคลายความโศกเศร้า กลับมีพระทัยและสติมั่นคงที่เป็นเช่นนี้เพราะพระนางเป็นคนมีเหตุผลนั่นเอง
          4. เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากการที่พระนางเสด็จออกผนวช แม้พระนางจะเสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุประมาณ 40 พรรษา หลังพระประยูรญาติคนอื่น ๆ ก็ตาม แต่ด้วยพระทัยที่มุ่งมั่นและตั้งใจจริง ทรงบำเพ็ญธรรมอยู่ประมาณ 1 เดือน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และทรงคุณธรรมเป็นพิเศษอีก 6 ประการที่เรียกว่า อภิญญา 6 จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศกว่าพระภิกษุณีทั้งหลายในด้านชำนาญในอภิญญา 6

3.พระนางขุชชุตตรา
     นางขุชชุตตรา เป็นอุบาสิกาตัวอย่างที่ถึงแม้เป็นคนพิการหลังค่อม แต่ก็ไม่ยอมแพ้ ต่อสู้จากประสบความสำเร็จ เป็นผู้ที่มีความรู้แตก จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมสามารถแสดงธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ประวัติของท่านจึงมีคุณค่าแก่การศึกษาและยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามประวัตินางขุชชุตตรา เป็นลูกสาวของแม่นมคนหนึ่งของโฆษกเศรษฐี ซึ่งเป็นบิดาเลี้ยงของพระนางสามาวดี ในกรุงโกสัมพี เดิมชื่อ อุลตรา แต่เพราะนางเกิดมาเป็นคนพิการหลังค่อม คนขึงพากันเรียกว่า ขุชชุตตรา
     ในสมัยเป็นสาว นางขุชชุตตราเป็นหญิงรับใช้ (ทาสี) คนหนึ่งของพระนางสามาวดี สมัยยังไม่ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน เมื่อพระนางสามาวดีได้เป็นพระมเหสีของเจ้าพระเจ้าอุเทน และเข้าไปอยู่ในพระราชวัง พระนางสามาวดีก็กราบทูลขอนำนางขุชชุตตราพร้อมกับหญิงรับใช้คนอื่น ๆ ไปอยู่ด้วย
นางขุชชุตตราเฝ้าปรนนิบัติรับใช้พระนางสามาวดีจนได้รับความไว้วางใจ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดซื้อดอกไม้ มาปักประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ในปราสาท โดยเปลี่ยนดอกไม้ทุกวัน โดยได้รับเงินเฉพาะเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะ ในกรุงโกสัมพีมีเศรษฐี 3 คนเป็นเพื่อนที่รักใคร่กันมาก คือ โฆษกเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปาวารเศรษฐี ครั้งหนึ่งเศรษฐีทั้งสามได้เดินทางไปทำการค้า ณ กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนสำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน หลังจากนั้นกราบทูลลาพระพุทธเจ้ากลับกรุงโกสัมพี ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้น 3 แห่ง คือ โฆษกเศรษฐีสร้างวัดโฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีสร้างวัดกุกกุฏาราม และปาวารเศรษฐีสร้างวัดปาวาริการาม
     ครั้งหนึ่งเศรษฐีทั้ง 3 คน ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จมาแสดงธรรมที่กรุงโกสัมพี เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับคำอาราธนาและเสด็จมาถึง ได้ประทับอยู่ที่วัดทั้ง 3 แห่งนี้ โดยทรงหมุนเวียนไปประทับ ณ วัดทั้ง 3 แห่งตามคำทูลอาราธนาของเศรษฐีแต่ละคน เศรษฐีแต่ละคนก็ได้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ณ วัดของตนเป็นเวลา 1 เดือนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำบุญ เศรษฐีทั้ง 3 คนได้สั่งซื้อดอกไม้เพื่อมาบูชาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทุกวัน โดยสั่งซื้อจากนายสุมนะพ่อค้าขายดอกไม้ และให้นำดอกไม้มาส่งที่บ้านทุกวัน เมื่อสุมนะนำดอกไม้มาส่งที่บ้านของเศรษฐี ได้เห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกก็เกิดจิตศรัทธาเลื่อมใสอยากทำบุญบ้าง จึงได้เข้าไปขอโอกาสกับเศรษฐีทั้ง 3 คน เพื่อกราบทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน ซึ่งเศรษฐีทั้ง 3 คนก็ตกลง
     เมื่อสุมนะพ่อค้าดอกไม้ได้มีโอกาสจากเศรษฐีทั้ง 3 แล้วก็มีการตระเตรียมงานทำบุญ โดยเตรียมภัตตาหารและเครื่องสักการะสำหรับถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ขณะเดียวกันนางขุชชุตตราไปซื้อดอกไม้ แต่นายสุมนะไม่มีเวลาจะจัดให้และได้ขอให้นางอยู่ช่วยงานก่อน นางขุชชตราจึงตกลง
เมื่อพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จมาถึงและทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงแสดงอนุโมทนาในการทำบุญของสุมนะ นางขุชชุตตราซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นด้วย ได้ฟังธรรมจบแล้วก็สำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
     เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับไปประทับอยู่ที่วัดพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก นางสุมนะก้ได้จัดดอกไม้ให้นางขุชชุตตรา นางขุชชุตตราเมื่อได้ดอกไม้แล้วก็รีบกลับพระราชวังด้วยความอิ่มเอิบใจ ก่อนที่จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า นางขุชชุตตราได้ยักยอกเงินค่าซื้อดอกไม้วันละ 4 กหาปณะ แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว นางขุชชุตตราตั้งอยู่ในศีล 5 วันนั้นนางซื้อดอกไม้ด้วยเงินทั้งหมด 8 กหาปณะ พระนางสามาวดีทอดพระเนตรเห็นผิดสังเกตที่นางนางขุชชุตตราซื้อดอกไม้มากกว่าปกติจึงตรัสถามนางขุชชุตตราก็ได้สารภาพและเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้ตนงดเว้นการทำชั่ว โดยวิธียักยอกเงินค่าซื้อดอกไม้
พระนางสามาวดีทรงฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงโยกให้นางขุชชุตตรา และทรงใคร่ที่จะฟังธรรมนั้นเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสกับนางขุชชุตตราว่า ฉันยกโทษให้เธอ แต่ฉันอยากฟังธรรมที่เธอได้ฟังจากพระพุทธเจ้า ขอให้เธอแสดงธรรมนั้นให้พวกฉันได้ฟังด้วยเถิด นางขุชชุตตราจึงได้แสดงธรรมที่ตนฟังมาจากพระพุทธเจ้าให้พระนางสามาวดีและหญิงรับใช้ฝ่ายในทั้งหมดของพระนางสามาวดีฟัง จนพระนางสามาวดีพร้อมกับหญิงรับใช้ได้สำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันเช่นเดียวกับนางตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระนางสามาวดีและหญิงรับใช้ฝ่ายในพร้อมใจกันตั้งนางขุชชุตตราไว้ในตำแหน่งอาจารย์ คือ ให้ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วกลับมาแสดงแก่พวกตน ทั้งนี้เพราะนางสามาวดีไม่อาจเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเองได้
     จากความสามารถในการแสดงธรรม จนทำให้พระนางสามาวดีและเหล่าหญิงรับใช้ฟังแล้วเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าจึงทรงประกาศยกย่องนางขุชชุตตราให้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในด้านเป็นนักแสดงธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย นางขุชชุตตราเป็นกำลังในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ไม่นานนัก ต่อมานางได้ถึงแก่กรรมโดยถูกไฟคลอกตายทั้งเป็นไปในปราสาท พร้อมกับพระนางสามาวดีและหญิงรับใช้คนอื่นๆ เพราะกลอุบายเผาปราสาทของพระนางมาคันทิยา พระมเหสีอีกองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทน

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
     นางขุชชุตตรามีคุณธรรมเด่นชัดที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ ดังนี้
       1. เป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากคราวที่นายสุมนะพ่อค้าดอกไม้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้ขอร้องให้ช่วยงานทำบุญ นางขุชชุตตราก็ยินดีช่วย และเมื่อเสร็จการถวายภัตตาหารแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง นางก็ตั้งใจฟังอย่างสนใจ จนเข้าใจธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงอย่างแจ่มแจ้งที่เรียกว่า เกิดดวงตาเห็นธรรม ยังผลให้นางได้สำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ที่สามารถทำลายความเห็นว่าร่างกายเป็นตัวตน (สักกายทิฐิ) ความสงสัยในบาปบุญ (วิจิกิจฉา) และความเชื่อถืองมงาย (สีลัมพตปรามาศ) เสียได้ และเพราะความที่นางเป็นคนที่สนใจใฝ่รู้ในธรรมอย่างจริงจัง นางจึงสามารถยกฐานะของตนพ้นจากความเป็นหญิงรับใช้ซึ่งมีหน้าที่จัดซื้อดอกไม้ประจำตัวมาเป็นอาจารย์ผู้สอนธรรมแก่พระนางสามาวดีผู้เป็นนายและเหล่าหญิงรับใช้คนอื่น ๆ ได้
       2. เป็นผู้ที่รู้จักรับผิดชอบชั่วดี คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จาก คราวที่พระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินเฉพาะเป็นค่าดอกไม้แก่พระนางสามาวดี วันละ 8 กหาปณะ พระนางสามาวดีได้มอบหมายให้นางขุชชุตตรามีหน้าที่ไปซื้อดอกไม้มาปักประดับสถานที่ ก่อนที่จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า นางได้ยักยอกเงินค่าซื้อดอกไม้ไว้วันละ 4 กหาปณะ แต่เมื่อได้ฟังธรรมแล้วได้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวเสีย ตั้งอยู่ในศีล 5 และสารภาพความผิดของตนต่อพระนางสามาวดีผู้เป็นนาย
       3. เป็นผู้มีสติปัญญาความรู้ความสามารถสูง คุณธรรมข้อนี้เห็นได้จากเมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นายสุมนะพ่อค้าดอกไม้ นางขุชชุตตราก็อยู่ในที่นั้นด้วย ได้ฟังขนขบแล้วนางก็สำเร็จมรรคผลชั้นโสดาบัน จากนั้นก็นำธรรมที่ตนได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าถ่ายทอดให้พระนางสามาวดีและหญิงรับใช้ฝ่ายในทั้งหมดฟัง สามารถแจกแจงแสดงจนคนเหล่านั้นเข้าใจในธรรม และสำเร็จมรรคผลเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันเช่นเดียวกับตน อีกทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นอาจารย์ผู้สอนธรรมเป็นประจำ เรื่องดังกล่าวทราบไปถึงพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงประกาศยกย่องว่า เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรมได้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย

4. พระอานนท์

     พระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี เมื่อลำดับญาติแล้วพระอานนท์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้แล้วเพื่อโประพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชบิดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อประทับอยู่พอสมควรแก่เวลา ก็เสด็จไปยังเมืองไพสาลีพร้อมพระอรหันต์สาวก ขณะเสด็จถึงอนุปัยนิคม แคล้วนมัลละ เจ้าชายอานนท์พร้อมด้วยเจ้าชายในราชสกุลศากยะได้ตามเข้าเฝ้าและขอบวชจากรพะพุทธเจ้า พระอานนท์เมื่ออุปสมบทไม่นาน ท่านได้ฟังโอวาทากพระปุณณมันตานีบุตร ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน พระอานนท์จึงนับถือพระปุณณมันตานีบัตรเป็นอาจารย์เสมอมา นับจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้ามิได้มีพระอุปัฏฐากประจำ พระภิกษุต้องคอยผลัดเปลี่ยนมารับใช้ตามโอกาส บางครั้งไม่มีพระอุปัฏฐากก็ได้รับความลำบาก พระภิกษุสงฆ์จึงประชุมกันว่าน่าจะมีพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งเป็นพระอุปัฏฐาก คือ คอยรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ ในที่ประชุมมีพระเถระรูปใหญ่หลายท่าอาสาขอทำหน้าที่นี้ แต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ ที่ประชุมจึงเลือกพระอานนท์ให้ทำหน้าที่นี้แทน ก่อนการเข้ารับหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก พระอานนท์ได้ทรงทูลขอพร 8 ประการ ถ้าพระพุทธเจ้าประทานให้ก็จะรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก พร 8 ประการนี้ คือ
          1) ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
          2) ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพเจ้า
          3) ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
          4) ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
          5) ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
          6) ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
          7) ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใด ขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
          8) ถ้าพระองค์แสดงธรรมเทศนาเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้ง
     พระพุทธเจ้าทรงประทานพร 8 ประการให้ตามที่พระอานนท์ปรารถนา ตั้งแต่นั้นมาพระอานนท์อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าด้วยความเอื้อเฟื้อ เอาใจใส่อย่างดี และมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่งแม้ชีวิตก็สละแทนได้ เช่น เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูถูกพระเทวทัตยุยง ได้ปล่อยช้างนาฬาคีรี เพื่อให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า พระอานนท์ออกยืนขวางหน้าพญาช้างเสียมิให้มาทำอันตรายพระพุทธเจ้าได้ โยมิได้คำนึงถึงอันตรายที่จะมีแก่ตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสยบช้างด้วยพุทธานุภาพ
     พระอานนท์มีอายุยืนยาวนานถึง 120 พรรษา จึงแจ้งแก่บรรดาศากยะและโกลิยะว่าท่านจะนิพพาน พระประยูรญาติทั้งสองฝั่งแม่น้ำโรหิณีต่างก็ต้องการให้ท่านนิพพานที่ดินแดนของตนจึงเกิดความขัดแย้งขึ้น พระอานนท์จึงอธิษฐานจิตเหาะเหนือแม่น้ำ และนิพพานโดยบันดาลให้ไฟลุกไหม้ร่างกายของท่ามกลางอากาศ เหลืออัฐิธาตุขาวตกลงทั้งสองฝั่งแม่น้ำ พระประยูรญาติแต่ละฝ่ายก็นำอัฐิไปไว้ในนครของตนเพื่อสักการบูชาสืบไป

4. พระปฏาจาราเถรี
     พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาเศรษฐีในกรุงสาวัตถี เรียกกันว่า เศรษฐีธิดา เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดามาก ครั้นเมื่อเจริญวัยได้ 16 ปี เริ่มเป็นสาว สวยงามมาก ท่าบิดาจึงจัดการป้องกันเข้มงวดให้อยู่แต่ในคฤหาสน์ชั้นบน ไม่ยอมให้พบปะผู้ชายภายนอกเรือนเลย ได้พูดจาปราศรัยกับผู้ชายเฉพาะบิดากับนายจุลน์คนรับใช้ของบิดาเท่านั้น ต่อมาเมื่อเกิดรักใคร่กับนายจุลน์โดยที่บิดาไม่รู้ความลับนี้ จากนั้นท่านเศรษฐีได้ตกลงจะส่งธิดาของตนไปให้แก่ตระกูลเศรษฐีที่มีฐานะเสมอกันที่มาสู่ขอ ทั้งสองจึงพากันหนีไปอยู่ในชนบทอื่น ภายหลังมีครรภ์จะกลับมาคอบดที่บ้านเดิม แต่มาคอลดระหว่างทางเสียก่อน สามีตามมาพบก็ชวนกันกลับ ต่อมานางก็ตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 อีก นางก็จะเดินทางกลับไปคลอดที่บ้านเดิมอีก แต่ก็กลับมาคลอดระหว่างทาง สามีตามมาพบขณะกำลังคอลดและกำลังมีฝนตกและพายุจัด นางจึงให้สามีสร้างเพิงสำหรับป้องกัน ขณะที่สามีกำลังถอนหญ้าคาที่ข้างจอมปลวกเพื่อมาสร้างเพิงนั้นก็เกิดถูกงงูพิษกัดตาย รุ่งเช้านางอุ้มลูกคนเล็กที่เพิ่งคอลดและจูงลูกคนโตเดินมาก็พบศพของสามี นางก็ร้องไห้โศกเศร้า ครั้นเมื่อนางเดินต่อมาถึงแม่น้ำ จึงอุ้มลุกคนเล็กที่เพิ่งคอลดไปวางฟากโน้นก่อน และจะกลับมารับลูกคนโตภายหลังขณะที่นางอยู่กลางแม่น้ำมีนกตัวใหญ่คาบเอาลุกคนเล็กของนางไป นางตบมือไล่นกตัวนั้นอย่างเสียงดัง ลูกคนโตก็เข้าใจว่ามารดาเรียกตน จึงวิ่งไปหาแล้วจมน้ำหายไป นางเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากจนกลายเป็นหญิงบ้า เดินร้องไห้รำพัน ผ้าผ่อนหลุดลุ่ยออกจากกกาย ฝูงชนเรียกนางว่า ปฏาจารา (หญิงเปลือยกาย)
     วันหนึ่งนางไปยืนอยู่ท้ายโรงธรรม พระพุทธเจ้าตรัสเรียกสติของนางว่า ปฏาจารา เธอจงกลับได้สติเถิด นางจึงได้สตินั่งลง พระองค์จึงแสดงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของนางโดยสังเขป ในที่สุดนางก็ได้บรรลุโสดาบัน แล้วทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าจึงส่งนางไปแห่งปัญจขันธุ์ แม้อยู่ร้อยปีก็ไม่ประเสริฐเท่าคนที่รู้เห็นอยู่วันเดียว เมื่อฟังธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นอกจากนี้ พระปฏาจาราเถรีเป็นมหาสาวิกาชั้นเถรีผู้ใหญ่องค์หนึ่ง ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวินัย มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธ๔เจ้าว่า เป็นเอตทัคคะที่เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงพระวินัยอีกด้วย

5. จูฬสุภัททา
     นางจูฬสุภัททาเป็นธิดาของอนาถบิณฑิกเศรษฐี การที่นางได้ชื่อว่า จูฬสุภัททา (สุภัททาเล็ก) เพราะนางมีพี่สาวคนหนึ่งที่ชื่อมหาสุภัททา (สุภัททาใหญ่) เดิมท่านเศรษฐีแต่งตั้งให้นางมหาสุภัททาเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการเลี้ยงพระสงฆ์ซึ่งทำอยู่ประจำ จนนางมหาสุภัททาแต่งงาน มีครอบครัวไป ท่านเศรษฐีจึงตั้งนางจูฬสุภัททาให้ทำหน้าที่แทน นางปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อย และได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบรรลุโสดาบันปัตติผลเป็นพระโสดาบัน
     อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีเพื่อคนหนึ่งชื่อ อุคคะ เป็นเศรษฐีอยู่ในนครอุคคนคร ทั้งสองคนเคยศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกันสมัยยังหนุ่ม และได้ทำกติกากันว่า เมื่อมีครอบครัวกันแล้ว ถ้าฝ่ายหนึ่งสู่ขอธิดาให้บุตรชายของตน และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องให้ ครั้งหนึ่ง อุคคเศรษฐีไปค้าขายยังกรุงสาวัตถีด้วยเกวียนเป็นอันมาก และไปพักอยู่กับอนาถบัณฑิกเศรษษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐีมอบหน้าที่ต้อนรับทุกอย่างให้นางจูฬสุภัททา นางปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งทั้งในด้านจัดที่พัก จัดอาหาร จัดประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม เป็นต้น อุคคเศรษฐีมีความพอใจมาก วันหนึ่งมีโอกาสเหมาะจึงเตือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีถึงกติกาที่เคยทำกันไว้ กล่าวคือ สู่ขอนางจูฬสุภัททาให้บุตรชายของตน และอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ยอมรับอุคคเศรษฐีนั้นเป็นทิจฉาทิฏฐิ คือ นับถือศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเรียกลูกสาวมาอบรมสั่งสอนด้วยหลักคำสอน 10 ประการ ตามที่นิยมกันในสมัยนั้น เพื่อให้เป็นภรรยาที่ดี ซึ่งหลักคำสอนทั้ง 10 ประการนี้ ธนญชัยเศรษฐีเคยใช้สั่งสอนนางวิสาขาบุตรสาวของตนมาแล้ว ดังนี้
          1) ไฟในอย่านำออก คือ อย่านำเรื่องไม่ดีภายในบ้านไปพูดให้คนนอกบ้านฟัง
          2) ไฟนอกอย่านำเข้า คือ อย่านำเรื่องไม่ดีภายนอกบ้านมาให้คนภายในบ้านฟัง
          3) ให้แก่คนที่ให้ คือ คนที่ยืมของแล้วนำมาคืน ต่อไปถ้ามายืมก็ควรให้ หมายถึง ให้เอื้อเฟื้อแก่คนที่รู้จักหน้าที่และรับผิดชอบ
          4) อย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ คือ คนที่ยืมของไปแล้วไม่ยอมคืน หากมายืมอีกก็ไม่ควรให้ หมายถึง ไม่ควรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนที่ไม่รู้จักหน้าที่และไม่รับผิดชอบ
          5) ให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ คือ ญาติมิตร แม้จะขอยืมอขงไปแล้ว เอามาคืนหรือไม่ก็ตามก็ควรให้ยืมอีก
          6) นั่งให้เป็นสุข คือ อย่านั่งในที่ซึ่งเมื่อพ่อสามี แม่สามี หรือสามีเดินผ่านตนเองแล้วตนเองจะต้องลุกให้ หมายมิได้ให้ล่วงละเมิดสิทธิและหน้าที่ของพ่อสามี แม่สามี และสามี
          7) นอนให้เป็นสุข คือนอนภายหลังพ่อสามี แม่สามี และสามี
          8) กินให้เป็นสุข คือให้กินอาหารภายหลังจากพ่อสามี แม่สามี และสามีอิ่มแล้ว
          9) บูชาไฟ คือ ให้เคารพยำเกรงพ่อสามี แม่สามี และสามีดุจไฟ
        10) บูชาเทวดา คือ ให้ดูแลเอาใจใส่และนับถือพ่อสามี แม่สามี และสามีดุจเทวดา
          นอกจากนี้อุคคเศรษฐียังได้แต่งตั้งบุคคลผู้มีหลักฐาน 8 คนเป็นผู้ดูแล หากนางจูฬสุภัททาถูกกล่าวหาด้วยประการใด ให้บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้พิจารณาชำระข้อกล่าวหา แล่วอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ส่งนางจูฬสุภัททาไปสู่ตระกูลสามีด้วยเกียรติอันยิ่งใหญ่
     วันหนึ่ง อุคคเศรษฐีกระทำการมงคล เลี้ยงอาหารพวกชีเปลือยซึ่งเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา แล้วส่งข่าวไปบอกนางจูฬสุภัททาให้มาไหว้ชีเปลือย นางไม่สามารถดูชีเปลือยได้เพราะความละอาย จึงไม่มาไหว้ เศรษฐีโกรธมากสั่งให้คนไล่นางออกจากเรือน นางบอกว่าต้องให้บุคคลผู้มีหลักฐาน 8 คนเป็นผู้ตัดสินว่านางผิดหรือไม่ บุคคลเหล่านั้นได้รับเชิญมาพิจารณาแล้วตัดสินว่านางไม่ผิด เศรษฐีจึงบอกกับภรรยาของตนให้สอบถามนางจูฬสุภัททาว่า สมณะของนางเป็นอย่างไร
     ภรรยาเศรษฐีถามว่า สมณะของเธอมีศีล มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างไร เธอจึงสรรเสริญนัก
     นางจูฬสุภัททาประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้า และพุทธสาวกด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
- สมณะของดิฉันมีอินทรีย์อันสงบ จิตสงบ การยืน การเดินของท่านก็สงบ ท่านมีนัยน์ตาทอดลง พูดพอประมาณ
- กายกรรมของท่านสะอาด วจีกรรมไม่ขุ่นมัว มโนกรรมบริสุทธิ์ยิ่ง
- ท่านบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายใน ปราศจากมลทิน เต็มเปี่ยมด้วยธรรมอันบริสุทธิ์
- ชาวโลกมีใจฟูขึ้น เพราะลาภ ยศ สรรเสริญ และมีแฟบลง เพราะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ แต่สมณะของดิฉันมีจิตใจเสมอเหมือนกันในโลกธรรมทั้งปวง ภรรยาเศรษฐีต้องการจะเห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ จึงให้นางจูฬสุภัททานิมนต์มา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไป ณ ที่นั้น ทั้งเศรษฐี ภรรยา และบริวารเกิดความเลื่อมใส ถวายทานมีกำหนด 7 วัน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจนบรรลุโสดาปัตติผล

6. สุมนมาลาการ
     นายสุมนมาลาการ เป็นผู้ทำหน้าที่นำดอกมะลิไปทูลบเกล้าทูลกระหม่อมพระเจ้าพิมพิสารเป็นประจำทุกเช้าตรู่ วันละ 8 ทะนาน และเขาจะได้รับพระราชทานเงิน 8 กหาปนะ (เป็นเงินไทยเท่ากับ 32 บาท) ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่นายสุมนมาลาการถือดอกไม้เดินเข้าไปในพระนครราชคฤห์ พระพุทธเจ้ามีพระภิกษุห้อมล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงเปล่งพระรัศมี (แสงสว่าง 6 ประการ) เสด็จเข้าไปยังในนครราชคฤห์ ครั้นนายสุมนมาลาการได้แลเห็นพระวรกายของพระพุทธเจ้า เห็นมาหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการอันสวยงามแล้ว เขามีจิตเลื่อมใสและคิดว่า “เราจะกระทำการบูชาอันยิ่งแด่พระบรมศาสดาอย่างไรดีหนอ” เมื่อเขามองไม่เห็นสิ่งอันจึงคิดว่า “เราจะบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านี้” และเขาคิดต่อไปอีกว่า “ดอกไม้เหล่านี้เป็นดอกไม้สำหรับถวายพระราชาประจำ คราวนี้เมื่อพระราชาไม่ทรงได้ดอกไม้เหล่านี้ จงตรัสสั่งให้จองจำเรา ให้ฆ่าเรา หรือให้เนรเทศ คือขับไล่เรออกจากแว่นแคว้น เราจะหระทำอย่างไรดี” แล้วเขาตัดสินใจว่า “พระราชาจะทรงฆ่าเรา หรือจะทรงเนรเทศ คือขับไล่เราออกจากแว่นแคว้นก็ตาม เพราะพระราชาถึงแม้พระราชทานทรัพย์แก่เรา ก็พระราชทานพอเลี้ยงชีพในอัตภาพนี้เท่านั้น ส่วนการบูชาพระบรมศาสดาอาจให้ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เราในหลายโกฏิกัปทีเดียว” พอเขาคิดตัดสินใจแน่แน่วแล้วดังนี้ จึงคิดสละชีวิตของตนถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และเขาคิดว่า “เรามีจิตเลื่อมใสไม่กลับกลายตราบใด เราจะกระทำการบูชาตราบนั้น” แล้วเขามีความร่าเริงบันเทิงใจ มีใจเบิกบานและแช่มชื่น แล้วบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านั้น และถือกระเช้าเปล่ากลับไปที่บ้านของตน ครั้นเมื่อภรรยาของสุมนมาลาการถามว่า “ดอกไม้อยู่ที่นี่จ๊ะพี่” สุมนมาลาการตอบว่า “ดอกไม้ฉันบูชาพระบรมศาสดาหมดแล้ว” ฝ่ายภรรยาของสุมนมาลาการป็นหญิงอันธพาล ไม่เกิดเลื่อมใสฝนปาฏิหาริย์เช่นนั้น นางจึงด่าเขา หลังจากนั้นจึงพสพวกบุตรไปเข้าเฝ้าพระราชา ทูลเรื่องที่สามีของตนนำดอกไม้ไปถวายพระพุทธเจ้า และโทษที่อาจจะได้รับจากการกระทำเช่นนี้ อีกทั้งยังขอให้กรรมที่สามีได้กระทำจงเป็นของเขาเพียงผู้เดียว หลังจากนั้นพระเจ้า พิมพิสารให้ภรรยาของสุมนมาลาการนั้นกลับไป ส่วนพระองค์รีบเสด็จไปหาพระบรมศาสดาตามเสด็จจาริกไปสู่นครต่าง ๆ จนถึงพระราชวัง พระเจ้าพิมพิสารตรัสสั่งให้กระทำปะรำขึ้นหลังจากที่ พระบรมศาสดาไม่ยอมเสด็จเข้าไปในพระราชวัง แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงประทับนั่งภายในปะรำที่สร้างขึ้นนั้นกับพระภิกษุสงฆ์ หตุที่พระบรมศาสนาไม่เข้าไปในพระราชวัง เพราะต้องการแสดงคุณความดีของสุมนมาลาการ เมื่อประทับที่พระลานหลวง มหาชนก็จะได้เห็นพระบรมศาสดา พร้อมกับคุณงามความดีนั้น พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ ทรงส่งเสด็จพระบรมศาสดาแล้วจึงเสด็จกลับ และรับสั่งให้หานายสุมนมาลาการ มาเฝ้าแล้วตรัสถามว่า “เจ้าคิดอย่างไร จึงบูชาพระบรมศาสดาด้วนดอกไม้ที่นำมาให้เรา” นายสุมนมาลาการกราบบังคมทูลว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า” “พระราชาจะทรงฆ่าเรา หรือจะทรงเนรเทศ คือขับไล่เราจากแว่นแคว้นก็ตาม” ดังนี้แล้ว จึงคิดสละชีวิตบูชาพระบรมศาสดา พระพุทธเจ้าเจ้าข้า” พระเจ้าพิมพิสารทรงตรัสยกย่องว่าเป็น มหาบุรุษแล้วพระราชทานสิ่งของอย่างละ 8 สิ่งให้สุมนมาลาการ
     ฝ่ายท่านพระอานนท์เถระคิดว่า “วันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่มาแล้ว มหาชนได้เปล่งเสียง สีหนาทตั้งพัน มีการยกธงผ้าหลายพันคัน นายสุมนมาลาการจะได้รับผลอย่างไรหนอ” แล้วพระเถระจึงกราบทูลถามพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาตรัสตอบกับพระเถระว่า “อานนท์ เธออย่ากำหนดว่านายสุมนมาลาการได้กระทำเพียงเล็กน้อย แต่เพราะเขาได้สละชีวิตกระทำการบูชาตถาคต เขาได้มีจิตเลื่อมใสในตถาคตอย่างนี้ เขาจะไม่ไปสู่ทุคติ (สถานที่สัตว์ตายไปเกิดมีความทุกข์ความลำบาก) ตลอดจนหนึ่งแสนกัป” เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสต่อไปว่า “นายสุมนมาลาการจะดำรงอยู่แต่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่ไปสู่ทุคติตอลดหนึ่งแสนกัป นี่เป็นผลแห่งกรรมนั้น ภายหลังเขาจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า “สุมนิสสระ” นับว่าเป็นพระอุยาสกที่น่ายกย่องในเรื่องความเสียสละคนหนึ่งในพระพุทธศาสนา

ชาวพุทธตัวอย่าง

1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการ สงคราม และกาปรกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เหล่าพระราชวงศืเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมกันและตกลงถวายพระราชสมบัติแก่รัชทายาทของพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ในขณะนั้นทรงมีพระชนมมายุเพียง 15 พรรษา จึงให้สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปก่อน จนทรงบรรลุนิติภาวะ แล้วจึงเถลิงราชสมบัติเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศง 2411 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี ทรงได้เสด็จประพาสต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะไปเยือนประเทศสิงค์โปร์และอินโดนีเซีย ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จเยือนประเทศอินเดียและพม่า โดยพระองค์ทรงรับเอาการศึกษาและแบบแผนการปกครองของตะวันตกมาปรับปรุงพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ” ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 97 พระองค์ แต่ประสูติในพระอัครมเหสีมี 9 พระองค์คือ
          1. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัตมณีภัย กรมพระเทพนารีรัตน์
          2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นรัชกาลที่ 6)
          3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายตรีเพชรรุตม์ธำรง
          4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
          5. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกุธภัณฑ์
          6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ)
          7. สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
          8. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย
          9. สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นรัชกาลที่ 7)
          พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การยกเลิกระบบทาส โดยตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ 124 ขึ้น ทำให้ไทยไม่ต้องมีระบบทาสมาจนทุกวันนี้ ทรงเริ่มการไปรษณีย์เป็นครั้งแรก ตามมาด้วยโทรเลข และโทรศัพท์ รงยกเลิกประเพณีการเข้าเฝ้าแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนคดีความแบบจารีตนครบาลมาเป็นการไต่สวนคดีความแบบศาลในปัจจุบัน ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ โดยตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ด้านการปกครองได้ทรงปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย โดยแบ่งการบริหารราชการส่วนกลางออกเป็น 12 กระทรวง และส่วนท้องถิ่นเป็นมณฑล ด้านการศาสนา ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง สถาปนาพระอารามต่าง ๆ มากมาย เช่นวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น ทรงโปรดเกล้าให้ชำระพระไตรปิฎก และพิมพืเป็นอักษรไทยเป็นครั้งแรก ทรงปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยสถาปนามาหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งที่วัดมหาธาตุฯ เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยตั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนเล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมทูต อีกทั้งยังทรงออกพระราชบัญญัติลักษระปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 120 โดยแบ่งการปกครองคณะส.ฆ์ออกเป็น 4 คระ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุตินิกาย ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามว่า “พรปิยมหาราช”
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเนื่องด้วยทรงพรระชราภาพมาก และทรงตรากตรำพระราชภารกิจมากมาย จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา รวมเวลาในสิริราชสมบัติได้ 42 ปีเศษ นับว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ แต่พระนามของพระองค์ยังสถิตอยู่ในดวงใจทุกดวงของแวงชนชาวไทยตลอดกาลนาน

2. พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
     ชา สุภัทฺโท หรือหลวงพ่อชา เกิดเมื่อวันที่ 17 วิถุนายน พ.ศง 2461 ณ บ้าจิกก่อ จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน 10 คน หลวงพ่อชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านจิกกอ่ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียน เพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว บิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสพเอ่เรียนรู้บุพกิจเบื้องต้น จึงรับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรชา ช่วงโชติ แล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลกบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสายนักธรรมคือ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สามเณรชา ช่วงโชติได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดารมารกาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัว แบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมบทเป็นพระให้ได้เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดาและมารดาก็อนุญาตให้บวช ณ พัทธสีมาวัดก่อใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบิดาเสียชีวิตจึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรมโดยออกธุดงค์และศึกษาแนวทางปฏิบัติกับครูอาจารย์ในสำนักต่าง ๆ แล้วออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อย ๆ โดยยังดำรงสมณเพศ เป็นพระมหานิกายอยู่ตอลดเวลา ได้ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรม โดยไปในสถานที่น่ากลัว เช่น ป่าช้า มีความกลัวมากจนปัสสาวะเป็นเลือด แต่ด้วยการพิจารณาธรรมอันแยบคายจนสามารถเอาชนะความกลัวไปได้ ผ่านดงสัตว์ ดงเสือ เคยเป็นไข้มาเลเรียอยู่กลางป่าคนเดียว จนเกือบเสียชีวิต แต่ได้ใช้ธรรมะโอสถรักษาจนหายได้ และยังใช้ธรรมะโอสถในการรักษาตนเองเมื่อเกิดเจ็บไข้อีกหลายครั้งจนในที่สุดได้รับอารยธรรมจากโยมมารดา และพี่ชายเพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักกันในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด มีผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมมากมาย ได้รับนิมนต์ไปเผยแพร่ธรรมในต่างประเทศ ทั้งยุโรป และอเมริกา ท่านได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะ “พระโพธิญาณเถระ” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2516 ท้ายที่สุดของชีวิต ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 อย่างสงบ ท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ
3. พระธรรมปิฎก (ป.ล. ปยุตฺโต)
     พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต) นามเดิมคือประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บนเส้นทางชีวิตของท่านครั้งยังเป็นเด้กชายประยุทธ์ อารางยกูร มีรูปร่างค่อนข้างจะบอบบาง ขี้โรค มีอุปนิสัยช่างสังเกต นุ่มนวล งดงาม และสงบ ประสบความำสเร็จอย่างน่าพิศวง จากการทำงานหนักทั้งในการศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนเข้ารับการบรรพชา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2494 จากประวัติชีวิตของท่านย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นบุคคลที่หาได้ยากยิ่ง ประสบความสำเร็จในการสอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 สอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2505 สอบได้วิชาชุดครู พ.ม. เมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งแสดงถึงความรู้ ความคิดที่ปราดเปรื่องแตกฉาน ควรแก่การเป็นอบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษา 10 สถาบันรวม 11 ปริญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น
     - ศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์ (สาขาอรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2529
     - อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2531
     - การศึกษาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2533
     - อักษรศาสตร์ดุษฏีกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537 เป็นต้น
     หลังจากนั้นท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยต่อมาอีก 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 – 2517 เพราะประสบการณ์ในการเป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาสงฆ์ที่ยาวนานและอยู่ในช่วงของการบุกเบิกวางรากฐานและการแก้ปัยหาหนักนานาประการ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าและความเป็นปึกแผ่นให้กับสถาบัน ซึ่งสืบทอดต่อเนื่องมาเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจนปัจจุบันนี้ ท่านจึงเป็น “หนึ่งในครูที่มีค่ายิ่งในวงการสงฆ์ไทย” จากนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 – 2519 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อีกทั้งได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เช่น
     - พ.ศ. 2525 ได้รับประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
     - พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลวรณรกรรมชั้นที่ 1 ประเภทร้อยแก้วสำหรับงานนิพนธ์ “พุทธธรรม” จากมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ
     - พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลกิติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” สาขาเผยแพร่พระพุทธศาสนา
     - พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองคืการยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
     - พ.ศ. 2538 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
     ในด้านสมณศักดิ์ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะขึ้นมาตามลำดับจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธฑรรมปฺฎกปรากฎในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้ง งานนิพนธ์ของพระธรรมปิฎกในลักษณะตำรา เอกสารทางวิชาการและหนังสือ เป็นการอธิบายธรรมทั่ว ๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงวิชาการ มีจำนวนมากว่า 216 เรื่อง เช่น พุทธธรรม ธรรมนูญชีวิต การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญยาไทย ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย Buddhist Economics Toward Sustainable Science พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ การพัฒนาที่นั่งยืน นิติศาสตร์บุคคล เป็นต้น นอกจากนั้น พระธรรมปิฏกได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทำให้การศึกษาค้นคว้าหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว จึงนับได้ว่าท่านเป็นนักวิชาการที่สร้างความเจริญมาให้กับวงการศึกษาของไทยท่านหนึ่ง

4. อนาคาริก ธรรมปาละ
     อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagsrika Dharmapala) ภิกษุชาวศรีลังกา ผู้พลิกฟื้นพระพุทธศาสนาในอินเดีย มีปฏิธานแน่วแน่ ว่าจะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปทั่วโลก ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (1864 – 1993) เดิมชื่อ ดอน เดวิด เป็นชาวสิงหล เกิดในครอบคระวชนชั้นกลางที่มีฐานะในประเทศศรีลังก บิดาเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ท่านถูกส่งไปเรียนในโรงเรียนของมิชชันนารีและเติบโตมาโดยมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศ ดอน เดวิด รู้สึกหดหู่กับศาสนาและความเสื่อมของประเทศ จึงพัฒนาองค์กรขึ้นมาโดยมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับอำนาจของต่างประเทศที่เข้ามารุกรากต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อนาคาริก ธรรมะปาละ” และยังได้แนะนำคนอื่น ๆ ให้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพื้นเมือง หรือคำในพระพุทธศาสนาแทนชื่อแบบชาวตะวันตก ซึ่งประชาชนก็ตั้งชื่อลูก ๆ ของตนตามแบบที่ท่านธรรมปาละแนะนำ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้หนึ่งในผู้รณรงค์ให้ใช้คำพื้นเมืองเป็นชื่อประเทศ แทนที่จะใช้คำว่า “ซีลอน” ซึ่งเป็นชื่อตะวันตก ในปี 1893 ท่านธรรมปาละ ได้รับเลือกจากผู้นำศาสนาเป็นตัวแทนที่ Parliament of word religions ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นท่านก็ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเกี่ยวกับศาสนาตามที่ต่าง ๆ อีกมากมาย หลังกลับมาสู่มาตุภูมิ ท่านธรรมปาละได้เยี่ยมเยือนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อปลุกชาวพุทธ – สิงหล ให้ตระหนักถึงอันตรายของวัฒนธรรมชาติ ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาโพธิสมาคม ในนิวเดลี ประเทศอินเดีย และมีสาขาในนิวยอร์ก ลอนดอน รวมทั้งริเริ่มทำหนังสือพิมพ์ Sinhala Buddhaya ด้วยการก่อตั้ง Buddist Mahavihara ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ นับเป็นเหตุการณ์ณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20 และได้รับการบันทึกไว้ในรายงานประจำปีของประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ แม้ว่าท่านธรรมะปาละจะมีชื่อเสียงไปทั่ว แต่ก็มีศัตรูไม่น้อย ทำให้ท่านต้องไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตที่ มูลคัลธกุฏีในชื่อของ ภิกษุเทวมิตต (Devamitta)
     ท่านธรรมปาละได้ก่อตั้งมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย (Mahabodhi Society of India) ในปี ค.ศ. 1891 เป็นสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภายใต้การบริหารงานของท่านธรรมปาละ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เชื้อเชิญพระชาวฮินดูที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา และครอบครอบพุทธคยา อยู่ให้ออกไปจากพื้นที่และให้สถานที่แห่งนี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้นับถืออย่างแท้จริง เหตุการณ์ยืดเยื้อถึงวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ได้มีการมอบกรรมสิทธิ์ให้กับท่าน Dr.S Radhakrisshnan ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีแห่งอินเดีย

                                                                     แบบทดสอบ
1. แบบปรนัย เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว (ข้อละ 1 คะแนน)

จุดประสงค์นำทางข้อที่ 1 อธิบายความหมายและองค์ประกอบของพุทธคุณ 9 ได้
1. ข้อใดเป็นสาเหตุที่แท้จริงในการผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ (สังคมศึกษา พ.ศ. 2530)
ก. ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย จึงผนวช
ข. ทรงตั้งพระทัยจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์จึงผนวช
ค. ทรงปรารถนาจะค้นคว้าทางพ้นทุกข์แต่โดยลำพังจึงผนวช
ง. ทรงเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสที่มีแต่สิ่งไร้แก่นสารจึงผนวช
2. การที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำลายกำแพงแห่งสังสารจักร จัดเป็นพุทธคุณข้อใด
ก. พุทโธ             ข. สุคะโต
ค. อะระหัง           ง. โลกะวิทู
3. การที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้องคุลิมาลโจรร้ายกลับใจ แสดงถึงพุทธคุณข้อใด
ก. สุคะโต                                      ข. วิชชาจะระณะสัมปันโน
ค. สัตถา เทวะมะนุสสานัง             ง. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมสาระถิ
4. พุทโธ หมายถึง ผู้ตื่นแล้ว มีลักษณะตรงกับบุคคลในข้อใด
ก. เป็นผู้สนใจใฝ่รู้                         ข. เป็นผู้มีสติอยู่เสมอ
ค. เป็นผู้ระมัดระวังตน                   ง. เป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งปวง
5. สัจธรรมนี้เราไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว เราเป็นเพียงผู้ค้นพบด้วยตนเองแล้วนำมาบอกกล่าวเปิดเผยแก่ชาวโลกเท่านั้น ข้อความนี้เกี่ยวข้องกับพุทธคุณข้อใด
ก. โลกะวิทู                                    ข. ภะคะวา
ค. สัมมาสัมพุทโธ                         ง. สัตถา เทวะมะนุสสานัง
6. คนเก่งที่รู้และประสบความสำเร็จในสิ่งใดแล้วอยากแบ่งปันเผยแพร่ แจกแจงแก่ผู้อื่นนั้นตรงกับพุทธคุณข้อใด
ก. สุคะโต                                      ข. อะระหัง
ค. ภะคะวา                                     ง. สัมมาสัมพุทโธ

จุดประสงค์ที่ 2 วิเคราะห์คุณค่าของพุทธคุณ 9 และนำพุทธคุณ 9 ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
7. การศึกษาพุทธคุณ 9 มีคุณค่าความสำคัญตามข้อใด
ก. สวดบทพุทธคุณได้
ข. เข้าใจความหมายของพุทธคุณแต่ละบท
ค. บังเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น
ง. นำพุทธคุณมาปฏิบัติให้เกิดความเสียกายแก่ตนและสังคม
8. คนในสังคมและในโลกทุกวันนี้ ประเภทที่มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดนั้นมีอยู่มาก แต่ถ้าผู้ใดมีความรู้ดี และประพฤติปฏิบัติดี ผู้นั้นย่อมประสบความสำเร็จในชีวิต ข้อความนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของพุทธคุณข้อใด
ก. สัมมาสัมพุทโธ                                ข. วิชชาจะระณะสัมปันโ
ค. สัตถา เทวะมะนุสสานัง                    ง. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
9. สุรเชษฐ์นำพุทธคุณบทหนึ่งมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าเขาจะไปหรืออยู่ที่ใดก็มีแต่คนยินดีต้อนรับ ไม่รังเกียจ และเขาเองก็ไม่สร้างความเดือดร้อนและปัญหาให้เกิดขึ้น ณ ที่นั้น พุทธคุณที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตของสุรเชษฐ์คือข้อใด
ก. สุคะโต                                             ข. อะระหัง
ค. ภะคะวา                                            ง. วิชชาจะระณะสัมปันโน
10. ข้อใดเป็นลักษณะของบุคคลที่นำพุทธคุณบทว่า พุทโธ มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
ก. เป็นผู้ที่มีน้ำใจกว้างขวาง                  ข. เป็นผู้ที่มีความตื่นตัวตลอดเวลา
ค. เป็นผู้ที่มีความรู้และความประพฤติดี ง. เป็นผู้ที่มีความสามารถรู้และทายใจคนอื่นได้

จุดประสงค์ที่ 3 เล่าประวัติของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตราโดยสังเขปได้
11. พระมหากัจจายนะได้ตอบปัญหาเรื่องวรรณะทั้ง 4 กับผู้ใด
ก. พระพุทธเจ้า                                      ข. ชาวกรุงอุชเชนี
ค. พระเจ้าจัณฑปัชโชต                         ง. พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร
12. ข้อใด ไม่ใช่ พุทธบัญญัติที่เปลี่ยนแปลง เมื่อพระมหากัจจายนะทูลขอพระพุทธเจ้า
ก. อาบน้ำได้ทุกวัน                                ข. จำพรรษาในฤดูเก็บเกี่ยว
ค. รับจีวรที่ทายกถวายลับหลังได้           ง. ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ได้
13. ใครคือพระภัททากัจจานาเถรี
ก. พระนางอมิตตตา                              ข. นางชลบทกัลยาณี
ค. เจ้าหญิงยโสธรา                               ง. พระนางมหาปชาบดี
14. การกำหนดรู้ใจผู้อื่น เรียกว่าอะไร
ก. อิทธิวิธี                                             ข. เจโตปริยญาณ
ค. อาสวักจยญาณ                                ง. ปุพเพนิวาสนุสติญาณ
15. นางขุชชุตตราได้รับเอตทัคคะในด้านใด
ก. เป็นผู้บรรลุอภิญญา                         ข. เป็นผู้บรรลุธรรมเร็ว
ค. เป็นนักแสดงธรรมที่ยอดเยี่ยม         ง. เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านพระไตรปิฏก
16. ภาระกิจของพระมหากัจจายนะที่สำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาคือข้อใด
ก. เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ไปประกาศพระพุทธศาสนาแทนพระพุทธเจ้า ณ กรุงอุชเชนี
ข. เป็นผู้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงผ่อนผันจำนวนพระสงฆ์ในพิธีอุปสมบทในเขตธุรกันดาร
ค. เป็นผู้บวชให้แก่พระโสณะกุฏิกัณณะ ซึ่งต่อมาท่านเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ง. เป็นหัวหน้าคณะทูตทั้ง 8 เดินทางไปกราบทูลอาราธนาพระพืธเจ้าให้เสด็จไปแสดงธรรม ณกรุงอุชเชนี 17. คุณธรรมพิเศษข้อใด ไม่ใช่ ของพระภัททากัจจานาเถรี
ก. อิทธิวิธี                                            ข. เจโตปริยญาณ
ค. ทิพพโสต                                         ง. ขันติโสวจัสสตา
18. ความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติของคนดีข้อความนี้สอดคล้องกับประวัติของใครมากที่สุด
ก. นางขุชชุตตรา                                 ข. พระนางสามาวดี
ค. พระมหากัจจายนะ                           ง. พระภัททากัจจานาเถรี
19. คุณสมบัติข้อใด ไม่ใช่ ของผู้ที่สำเร็จมรรคผลชั้นโสดาบัน
ก. ไม่ยึดติดในร่างกาย                         ข. ไม่มีความเชื่อถืองมงาย
ค. ตัดโทสะความขุ่นเคืองเสียได้         ง. ทำลายความสงสัยในเรื่องบาปบุญ
20. พฤติกรรมที่ ไม่ควร ยึดถือเป็นแบบอย่างของนางขุชชุตตรา คือข้อใด
ก. ความเกียจคร้าน                              ข. ความเห็นแก่ตัว ไร้น้ำใจ
ค. การทุจริตต่อหน้าที่                          ง. ความละโมบอยากได้ของผู้อื่น

จุดประสงค์ที่ 4 วิเคราะห์คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระมหากัจจายนะ พระภัททากัจจานาเถรี และนางขุชชุตตรา นำไปปฏิบัติในชีวิตจริงได้
21. เหตุการณ์ใดแสดงให้เห็นว่า ท่านกัจจายนะเป็นผู้มีความคิดรอบคอบ
ก. ช่วยงานปุโรหิตผู้เป็นบิดาที่พระราชวังของพระเจ้าจัณฑปัชโชต
ข. ทูลขอผู้ติดตาม 7 คนเพื่อเป็นเพื่อนเดินทางไปกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
ค. เรียนจบไตรเพทก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดาที่เสียชีวิตไป
ง. ทูลลาพระเจ้าจัณฑปัชโชตเพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนาก่อนออกเดินทางไปแคว้นมคธ
22. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะคุณธรรมของพระมหากัจจายนะ
ก. อนุชาตบุตร                                          ข. ยึดมั่นคำสัญญา
ค. ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี                        ง. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
23. ตลอดเวลา 6 – 7 ปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป พระนางยโสธราก็ทรงติดตามข่าวคราวอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงประพฤติอย่างไรก็ทรงทำตามอย่างนั้น ข้อความนี้กล่าวถึงคุณธรรมข้อใดของพระนางยโสธรา
ก. ความอดทน                                          ข. ความตั้งใจจริง
ค. ความจงรักภักดี                                     ง. ความไม่เห็นแก่ตัว
24. แม้พระภัททากัจจานาเถรีทรงผนวชเมื่อพระชนมายุประมาณ 40 พรรษาแล้ว ซึ่งนับว่าช้ากว่าพระประยูรญาติทั้งหลาย แต่ทานก็สามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ได้ การปฏิบัติของพระภัททากัจจานาเถรีข้อความนี้ตรงกับข้อใด
ก. รู้มากยากนาน                                       ข. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง
ค. ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ                        ง. ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
25. คุณธรรมของนางขุชชุตตราในข้อใดควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
ก. รู้จักวิธีต้อนรับแขก                                ข. มีระเบียบ สวยงาม
ค. จัดการงานในบ้านไม่ดี                          ง. พึ่งตนเอง ขยัน มีปัญญามาก
26. การที่นางขุชชุตตราสามารถพัฒนาตนเองจากที่ทาสีไปเป็นอาจารย์ของพระนางสามาวดีได้นั้น ให้ข้อคิดในเรื่องใดที่สามารถยึดถือเป็นหลักปฏิบัติได้
ก. ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน                           ข. คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาหมอ
ค. นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้ ขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้    ง. คนจะล่วงพ้นความทุกข์ได้เพราะความเพียร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น